HRMS

ผลงานวิชาการ [172]

ผลงานวิชาการ
ด้านบริหารการศึกษา
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR
13/11/2020
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
366
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการบริหารจีดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR 2) พัฒนาคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR 3) ศึกษาผลการทดลองใช้คู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR และ 4) เผยแพร่คู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองคง จำนวน 4 คน 2) ครูและบุคลากร โรงเรียนเมืองคง จำนวน 150 คน 3) นักเรียนโรงเรียนเมืองคง จำนวน 2,092 คน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 322 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ห้องเรียนละ 5 คน จำนวน 62 ห้องเรียนและห้องเรียนละ 4 คน จำนวน 3 ห้องเรียน 4) บุคคลในชุมชน จำนวน 28 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเมืองคง จำนวน 14 คน และคณะกรรมการสมาคมครูและผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 14 คน 5) คณะกรรมการประเมินโรงเรียนสีเขียว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 5 คน 6) ผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำนวน 49 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือ 3) แบบประเมินทัศนคติการยอมรับและการปฏิบัติตามมาตราการที่กำหนด 4) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านการบริหารจัดการขยะ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6) แบบสอบถามความคิดเห็นการยอมรับคู่มือ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า 1. การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักกาาร CSR ประกอบด้วย 5 ส่วน ส่วนที่ 1 นโยบาย/กรอบยุทธศาสตร์ ส่วนที่ 2 กรอบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียว ส่วนที่ 3 หลักการ/ทฤษฎี ส่วนที่ 4 ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ส่วนที่ 5 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSD อยู่ในระดับมากที่สุด 2. การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSD ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 รูปแบบและกระบวนการบริหารจัดการ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 4 ด้าน ด้านที่ 1 ด้านความเหมาะสมของคู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSD ด้านที่ 2 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียดด้านการวางแผน (Planning) ด้านที่ 3 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียดด้านการปฏิบัติการ (Action) และการสังเกตการณ์ (Observing) ด้านที่ 4 ด้านความเหมาะสมของรายละเอียดด้านการสะท้อนผล (Reflection) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR อยู่ในระดับมากที่สุด 3. การศึกษาผลการทดลองใช้คู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR พบว่า ผลการประเมินทัศนคติ การยอมรับและการปฏิบัติตามมาตราการที่กำหนด ในการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR ของผู้บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ของครูและบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ของบุคคลในชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินทัศนคติ การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ของครูและบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ผลของการประเมินการลดอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง ร้อยละ 9.46 ผลการประเมินการลดอัตราการใช้น้ำประปาลดลง ร้อยละ 33.07 ผลการประเมินการบริหารจัดการขยะ ของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 4. การเผยแพร่คู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR กับกลุ่มเป้าหมาย คณะกรรมการประเมินโรงเรียนสีเขียว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศโรงเรียนสีเขียว และโรงเรียนคาร์บอนต่ำ ผลการเผยแพร่คู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนสีเขียวแบบมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการ CSR กับกลุ่มเป้าหมาย ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จำนวน 49 โรงเรียน มีผลการยอมรับคู่มือ อยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียดทั่วไปของข้าราชการครูฯ
สุพล เชื่อมพงษ์
ชาย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระบบสารสนเทศการวิจัย สำนักงาน ก.ค.ศ.

กลุ่มเครือข่ายการวิจัยและสารสนเทศ
 ภารกิจวิจัยนวัตกรรมการบริหารงานบุคคล
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา